มีเดี่ยวก็ต้องมีคู่ด้วยนะ


วันอาทิตย์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2551

ความหมายสามมิติของ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต

โดย :: ดร.แสวง รวยสูงเนิน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แหล่งที่มา :: http://gotoknow.org/blog/sawaengkku/68652
[ต้องขออภัยท่าน ดร.แสวง รวยสูงเนิน ที่นำบทความนี้มาแปะไว้ที่เว็บบล็อก "รวมพลคนครุยแดง" นี้ เพราะเห็นว่ามีประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ที่ไม่รู้ความหมายสามมิติของ บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต]
.....ผมเชื่อว่า ท่านคงเคยได้ยินทั้ง 3 คำนี้มาอย่างแน่นอน เพราะเป็นคำที่คนอยากเป็น อยากมีด้วยกันทั้งนั้น และในช่วงนี้ก็เป็นกระแสการรับปริญญาบัตรของสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ จึงเป็นโอกาสอันดีที่จะชี้แจงแถลงไขว่า 3 คำนี้ แตกต่างกันอย่างไร

.....ก่อนที่จะมาคิดเขียนเรื่องนี้ ผมได้เคยลองถามผู้ที่กำลังเรียนหรือจบไปแล้ว ทั้ง 3 ระดับปริญญา ผมแทบจะไม่ได้ยินใครตอบเข้าประเด็นเลย ว่าทั้ง 3 คำนี้ มีอะไรเหมือนกันหรือต่างกัน
ประเด็นวิเคราะห์เหล่านี้เป็นความเห็นกึ่งส่วนตัว กึ่งวิชาการนะครับ

.....ผมขอเริ่มด้วยคำว่า “บัณฑิต” ซึ่งเป็นคุณสมบัติชนิดหนึ่งที่ดีของคนที่มีคำสำนวนไทยว่า
“คบคนพาล พานพาไปหาผิด คบบัณฑิต บัณฑิตพาไปหาผล” ซึ่งแสดงว่า คนที่เป็นบัณฑิตนี้ต้องเป็นคนดีแน่นอน
ดีอย่างไรครับ ก็ดีขนาดพาไปหาผลได้ล่ะครับ แล้วเขาพาไปหาผลได้อย่างไร แสดงว่า เขาต้องรู้ว่าอะไรดีไม่ดี รู้ว่าอะไรเกิดผลไม่เกิดผล เขาจึงพาไปได้

.....ฉะนั้นตามรากศัพท์ คำว่าบัณฑิต จึงควรจะแปลว่า ผู้มีปัญญาที่จะทำประโยชน์ให้กับตนเองและผู้อื่น จึงสามารถพาคนอื่นไปหาสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้ เมื่อบัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา

แล้วมหาบัณฑิต ควรจะแปลว่าอะไร ผมเข้าใจว่า น่าจะแปลว่าผู้มีปัญญาหลายๆ อย่าง หลายๆ ด้านแบบพหุปัญญานั่นแหล่ะครับ ฉะนั้น มหาบัณฑิต จึงน่าจะมีปัญญาหลายๆ ด้าน โดยรากศัพท์นี้

แล้วดุษฎีบัณฑิต ล่ะครับ ควรจะแปลว่า อะไร ตามรากศัพท์ควรจะแปลว่าผู้มีปัญญารอบด้าน เข้าใจปรัชญาทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับธรรมชาติและระบบสังคมที่เป็นอยู่ทั้งหมด

.....ฉะนั้น จึงนับว่าดุษฎีบัณฑิต มีความรู้สูงสุด อันนี้ตามความหมายนะครับ ผมไม่แน่ใจว่าความจริงเป็นอย่างไร ฉะนั้น ผมจึงไม่ค่อยเข้าใจว่าคนคนหนึ่ง ทำไมจะต้องมีดุษฎีบัณฑิตหลายๆใบ แสดงว่าต้องมีความรู้หลายชั้นอย่างนั้นหรือครับ (อันนี้ขอแซวคุณกะปุ๋ม โดยเฉพาะ)

.....ทีนี้ลองหันกลับมามองในโลกแห่งความเป็นจริงว่า บัณฑิตหรือผู้ที่จบปริญญาตรีแตกต่างจากผู้ที่เป็นมหาบัณฑิต (จบปริญญาโท) และดุษฎีบัณฑิต (จบปริญญาเอก) อย่างไร

ในทางตามหลักการทำงานนะครับ เราถือว่า
คนที่เป็นบัณฑิตในระดับปริญญาตรีนั้นคือผู้มีความรู้พอที่จะไปทำงานได้ในสาขาต่างๆ ที่สังกัด

ในขณะที่มหาบัณฑิตหรือปริญญาโทนั้นเป็นผู้ที่มีความสามารถในการทดลองและวิจัยเพื่อสร้างความรู้ โดยเน้นการวัดผลจากความสามารถในการทำงานวิจัย

และดุษฎีบัณฑิตหรือผู้ที่จบ
ปริญญาเอกนั้น เป็นผู้ที่มีความสามารถ ในการสร้างความรู้ใช้เอง โดยต้องป้องกันวิทยานิพนธ์ของตนเองอย่างชัดเจนว่าได้สร้างความรู้ใหม่ใดขึ้นมาบ้าง ซึ่งแตกต่างจากปริญญาโทที่เพียงรู้วิธีการทำวิจัย และระดับปริญญาตรีที่เรียนรู้ทฤษฎีต่างๆ

เห็นไหมครับ เกณฑ์สองชนิดนี้แตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ผมเลยไม่แน่ใจว่าเราควรจะใช้เกณฑ์ไหนในการทำงาน (อันนี้ยังไม่นับคนที่มีคุณสมบัติไม่ผ่านเกณฑ์ แต่ได้รับการหนุนเสริมจากระบบสถาบันหรืออาจารย์ที่ปรึกษาให้จบจนได้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะจบ ด้วยเหตุผลกลใดก็แล้วแต่)

สำหรับตามหลักทางปฏิบัติ เรายิ่งหย่อนเกณฑ์ลงไปกว่านั้นอีก
ปริญญาตรี คือ ผู้ที่สอบผ่านทุกวิชาที่อยู่ในหลักสูตร โดยได้คะแนนเฉลี่ยไม่ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้
ปริญญาโท คือ ผู้ที่สามารถสอบผ่านวิชาที่กำหนดไว้และสอบผ่านวิทยานิพนธ์ที่มีเกณฑ์ว่า รู้ข้อเด่นข้อด้อยของงานที่ตัวเองทำ อาจผิดพลาดบ้างก็ไม่เป็นไร
ปริญญาเอก คือ ผู้ที่สามารถผ่านการทดสอบคุณสมบัติและความรอบรู้ และสามารถป้องกันวิทยานิพนธ์โดยเน้นองค์ความรู้ใหม่ที่สร้างขึ้นมา

หลุดโลก

หลุดโลก


สุดแสนดีใจที่ได้เรียนจบกันสะที จริงไหมพี่น้อง

เกี่ยวกับฉัน

รูปภาพของฉัน
ไม่มีคนคบค้าสมาคม มิได้ถือตัวเจ้ายศเจ้าอย่างอะไร แต่ไม่ช่างพูดเท่านั้นเอง